ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย "วัดพระธรรมกาย" เป็นนิกายไหนกันแน่!!!

คำถาม : วัดพระธรรมกายเป็นเถรวาทหรือมหายานกันแน่!!!   
 ทำไมไม่แยกนิกายไปเลย!!! หรือทำมูลนิธินอกเหนือศาสนาพุทธไปเลย!!!

คำตอบ : ขอยืนยันว่า...“วัดพระธรรมกายเป็นพระพุทธศาสนา
เถรวาทอย่างแน่นอน”  แต่ก่อนที่จะอธิบายขยายความเกี่ยวกับประเด็นนี้  ควรมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน   



ถูกแบ่งออกเป็นนิกายหลัก 2 นิกายคือ “เถรวาท” และ “มหายาน”

         พระพุทธศาสนานิกาย “เถรวาท” ... จัดว่าเป็นนิกายดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ที่ถือปฏิบัติตามพุทธบัญญัติมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ “พระมหากัสสปะ” เป็นประธานในการทำ “ปฐมสังคายนา” เป็นกลุ่มที่พยายามรักษาพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด   เพื่อคงความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของพระสัทธรรมโดยไม่มีการยืดหยุ่นข้อวัตรปฏิบัติ   หรือปรับเปลี่ยนคำสอนให้ผิดไปจากคำสอนดั้งเดิม     

         และด้วยความเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติของนิกายเถรวาท   จึงทำให้การเผยแผ่มีข้อจำกัดและกระจายออกไปได้ไม่กว้างเท่ากับมหายาน   ซึ่งในยุคปัจจุบัน!!!พุทธนิกายเถรวาทจะนับถือแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ลาว พม่า ศรีลังกา เป็นต้น

         พระพุทธศาสนานิกาย “มหายาน” ... เป็นนิกายที่แยกตัวออกมาในภายหลัง   มีแนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์   เน้นสร้างบารมีเพื่อขนสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์ให้ได้เป็นจำนวนมาก   เป็นกลุ่มที่มีการแก้ไขข้อวัตรปฏิบัติให้ยืดหยุ่น   เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนไปในประเทศต่างๆ   ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศ   ภูมิประเทศ  และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป    

         นอกจากนี้ยังมีการผนึกกำลังอุบาสก อุบาสิกา เพื่อช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น   ในยุคปัจจุบัน!!! พุทธนิกายมหายานจะนับถือแพร่หลายในประเทศทิเบต  จีน  มองโกเลีย  เกาหลี  เวียดนาม  สิกขิม  และภูฏาน  เป็นต้น.

         ถึงแม้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายานจะมีแนวทางปฏิบัติและมีแนวคิดที่แตกต่างกันในหลายๆ เรื่องตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น   แต่อย่างไรก็ตาม!!! ทั้ง 2 นิกายต่างก็สอนเรื่องอริยสัจ 4  และสอนเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา   อีกทั้งยังมีจุดหมายเดียวกัน คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งคู่ 

         สำหรับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น   จัดเป็นพุทธนิกาย “เถรวาท”  ซึ่งแต่เดิมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว   แต่ในเวลาต่อมาได้มีการแยกย่อยออกเป็น 2 ฝ่ายได้แก่... “มหานิกาย” (ซึ่งก็คือคณะสงฆ์เถรวาทดั้งเดิมที่ปักหลักเผยแผ่ในผืนแผ่นดินนี้มาอย่างยาวนาน)  และ “ธรรมยุติกนิกาย” (ที่เพิ่งตั้งขึ้นในช่วงพ.ศ. 2376 โดย “พระวชิรญาณเถระ” หรือ “เจ้าฟ้ามงกุฎ”   ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)   แต่ไม่ว่าจะอย่างไร!!! ทั้งสองฝ่ายต่างก็อยู่ภายใต้กฏมหาเถรสมาคมเดียวกันและมีสมเด็จพระสังฆราชพระองค์เดียวกัน

ในส่วนของวัดพระธรรมกายนั้น   ถือเป็นวัดใน “นิกายเถรวาท” ที่อยู่ในสังกัด “มหานิกาย” มาตั้งแต่ต้น    เพราะพระภิกษุทุกรูปในวัดล้วนผ่านการบวชโดยมีพระอุปัชฌาย์อยู่ในสังกัด “มหานิกาย” อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย   อีกทั้งทุกรูปยังมีข้อวัตรปฏิบัติและถือศีล 227 ข้อตรงตามแนวทางปฏิบัติของพุทธเถรวาทดั้งเดิมทุกประการ  
  
         เพราะฉะนั้น...วัดพระธรรมกายจึงไม่ใช่วัดในนิกาย “มหายาน” อย่างที่คนบางกลุ่ม (โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอคติกับวัดพระธรรมกาย) พยายามชี้นำให้คนในสังคมเกิดความเข้าใจผิดและเกิดความสับสน

         สำหรับเหตุผลที่ทำให้คนสงสัยว่า…วัดพระธรรมกายเป็น        เถรวาทหรือมหายานกันแน่นั้น   น่าจะมาจากเหตุ 2 ประการดังนี้

1.เรื่องแนวคำสอน : หลายๆ คน (โดยเฉพาะที่ไม่เคยเข้าวัดพระธรรมกาย)   อาจมีความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องคำสอนของวัดพระธรรมกาย   ที่มีบางเรื่องอาจจะดูคล้ายแนวทางของพุทธแบบ “มหายาน”   โดยเฉพาะเรื่องเป้าหมายในการสร้างบารมี   ที่ทางวัดอยากให้ “ทุกคนบนโลก” เข้าถึงสันติสุขภายใน (หรือบรรลุธรรมเข้าถึงพระธรรมกาย)   ซึ่งจะทำให้โลกเกิดสันติภาพที่แท้จริง    

         มาถึงจุดนี้!!! ขอถามหน่อยเถอะว่า... “เป้าหมายที่จะช่วยให้ทุกคนบนโลกมีศีล  มีธรรม  และเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นหนทางสู่นิพพานมันผิดตรงไหน!!!  หรือมันไม่ดีอย่างไร!!!”   ถึงแม้เป้าหมายของวัดพระธรรมกายจะเน้นการสร้างบารมีแบบไปเป็นทีม (ซึ่งอาจจะดูแตกต่างจากวัดพุทธเถรวาทหลายๆ วัด)  แต่หลักธรรมหรือคำสอนที่ทางวัดพระธรรมกายนำมาเผยแผ่หรือสอนให้แก่สาธุชน   ก็ตรงตามหลักคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานเอาไว้ทุกประการ  

2.เรื่องแนวทางในการเผยแผ่ : ถ้ามองแบบผิวเผิน!!! แนวทางในการเผยแผ่ของวัดพระธรรมกายอาจดูแตกต่างจากวัดเถรวาทหลายๆ วัด  เพราะทางวัดใช้จะแนวทางในการเผยแผ่แบบ “เชิงรุก” ไม่ได้เป็นแบบตั้งรับอย่างเดียว (คือ...เน้นการเผยแผ่พระธรรมคำสอนออกไปสู่สังคมในวงกว้าง)   

         แต่ก่อนที่ใครจะกล่าวหาวัดพระธรรมกายว่าไม่ใช่พุทธเถรวาทเพราะเรื่องนี้!!!   ได้โปรดกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคพุทธกาลกันให้ดีเสียก่อน   จะได้ไม่หลงสรุปอะไรง่ายๆ เพียงเพราะเห็นว่า...วัดพระธรรมกายมีแนวทางในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนที่แตกต่างจากวัดเถรวาทอื่นๆในประเทศไทย 

         ถ้าย้อนกลับไปในยุคที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่   เดิมทีนั้น!!! พระพุทธศาสนายังคงรวมกันเป็นหนึ่งเดียว   ไม่มีการแตกหรือแยกนิกายแบบในยุคปัจจุบัน   และด้วยความที่ในยุคสมัยนั้นศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาหลักที่คนอินเดียโดยส่วนใหญ่นับถือ   อีกทั้งยังมีความเชื่ออื่นๆ แพร่หลายในอินเดียอีกมากมาย   

         ดังนั้น...พระพุทธองค์จึงทรงมีนโยบายให้เหล่าพระอรหันตสาวก (ซึ่งในช่วงแรกๆ จะมีกันอยู่เพียงแค่ 60 รูป)   แยกย้ายกันออกไปเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนให้ได้มากที่สุด   และก่อนที่พระพุทธองค์จะส่งพระอรหันตสาวกทั้ง 60 รูปออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา   พระพุทธองค์ก็ทรงประทานโอวาทให้แก่พระอรหันตสาวกเหล่านั้นว่า… 

         “ ภิกษุทั้งหลาย … พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก  เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์   อย่าไปโดยทางเดียวกันสองรูป (คือจงไปคนเดียวหลายๆ ทาง  อย่าไปทางเดียวหลายๆ คน)แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม ”  (หมายเหตุ : สามารถไปตามอ่านรายละเอียดในช่วงนี้ได้จาก...พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม  4 หน้า 40 วินัยปิฎก มหาวรรค)

         จากโอวาทดังกล่าวจะเห็นได้ว่า...นี่คือนโยบายเผยแผ่แบบ “เชิงรุก” ไม่ใช่นโยบาย “ตั้งรับอยู่กับที่”   เพราะในสภาวะที่ศาสนาพราหมณ์ฝังรากลึกในสังคมอินเดียขนาดนั้น   ถ้าหากมัวแต่ตั้งรับอยู่กับที่โดยไม่ออกไปเผยแผ่อย่างจริงจัง   ก็คงยากที่จะแผ่ขยายพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกไปได้ในวงกว้าง   

         นอกจากพระพุทธองค์จะส่งพระอรหันตสาวกที่มีทั้งหมดออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามที่ต่างๆ แล้ว   พระพุทธองค์ยังทรงออกไปประกาศพระสัทธรรมด้วยตัวของพระองค์เองอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น...เสด็จเดินทางไปที่อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อโปรดชฎิล 3 พี่น้อง   

         ซึ่งก็คือ อุรุเวลกัสสปะ , นทีกัสสปะ   และคยากัสสปะ   ซึ่งมีบริวารรวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน   เมื่อชฎิล 3 พี่น้องพร้อมเหล่าบริวารเกิดความเลื่อมใสและขอออกบวชในพระพุทธศาสนา   ก็ทำให้พระพุทธองค์ทรงมีพระสาวกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในคราวเดียวกว่าพันองค์   จากจุดนี้!!!  ทำให้พระพุทธศาสนาขยายตัวอย่างรวดเร็วและสามารถแผ่ขยายออกไปได้อย่างกว้างไกลตั้งแต่นั้น

         นอกจากนี้!!! พระพุทธองค์ยังเสด็จไปโปรดบุคคลระดับผู้นำแคว้นอีกมากมาย   ยกตัวอย่างเช่น...เสด็จไปโปรด  “พระเจ้าพิมพิสาร” แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ   เมื่อพระเจ้าพิมพิสารบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว   ก็มีผลทำให้เหล่าข้าราชบริพารและประชาชนในแว่นแคว้น   หันมานับถือพระพุทธศาสนาและเข้าถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น   

         ซึ่งผลจากการที่พระบรมศาสดาทรงมีนโยบายเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน “เชิงรุก”  (คือ...ทั้งที่ทรงออกไปแผยแผ่ด้วยตัวของพระองค์เอง  และให้เหล่าพระสาวกแยกย้ายกันออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา)  ทำให้ในที่สุด!!! พระพุทธศาสนาก็สามารถตั้งมั่นและครองใจผู้คนทุกระดับชั้นในชมพูทวีปได้เป็นผลสำเร็จ (กล่าวได้ว่า...มีคนทุกระดับหันมานับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่บุคคลผู้ยากไร้   คนทั่วไป   ไปจนถึงระดับมหาเศรษฐี   ผู้นำลัทธิ  และกษัตริย์ผู้ปกครองแว่นแคว้น)

         จากเรื่องราวข้างต้นคงทำให้ทุกท่านเห็นภาพการเผยแผ่ “เชิงรุก” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางรากฐานเอาไว้ได้พอสมควร   และคงจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเผยแผ่เชิงรุกของวัดพระธรรมกายว่า... “การเผยแผ่ในลักษณะนี้ไม่ใช่วิธีการใหม่  แต่เป็นการเจริญรอยตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระสัทธรรมในยุคพุทธกาล   โดยมีการปรับรูปแบบในการเผยแผ่ (แต่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนคำสอน) เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบัน   (ยกตัวอย่างเช่น...มีการส่งพระไปเทศน์สอนและฝึกสมาธิถึงบ้านสาธุชนที่เข้าร่วมโครงการบ้านกัลยาณมิตรทั้งในและนอกประเทศทั่วโลก   หรือมีการใช้สื่อมัลติมีเดียและใช้ช่องทางในโลกโซเชียล   เพื่อช่วยในการเผยแผ่พระสัทธรรมให้กว้างไกลออกไปทั่วโลก  เป็นต้น)  

         จากที่ได้อธิบายขยายความมาทั้งหมด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า  “แนวคำสอนและแนวทางในการเผยแผ่ที่วัดพระธรรมกายทำอยู่ในตอนนี้   เป็นพุทธเถรวาทแบบดั้งเดิมแท้ ๆ ตามที่พระพุทธองค์ทรงวางรากฐานไว้ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล”   

         เพราะฉะนั้น...ที่มีคนมาตั้งประเด็นว่า “ทำไมไม่แยกนิกายไปเลย!!! หรือทำไมไม่ทำมูลนิธินอกศาสนาพุทธไปเลย”  จึงไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติม  เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องแยก......ชัดมั้ย!!!

http://www.dhammakaya.net/


https://www.dmc.tv

ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย "วัดพระธรรมกาย" เป็นนิกายไหนกันแน่!!! ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย "วัดพระธรรมกาย" เป็นนิกายไหนกันแน่!!! Reviewed by Unknown on 02:48 Rating: 5

15 ความคิดเห็น:

  1. ให้ศึกษากันให้เข้าใจแล้วจะรู้ว่าวัดพระธรรมกายตั้งใจและมีบุคลลากรที่เสียสละชีวิตสุขสบายในทางโลกมุ่งเน้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลกและเราทำจ่ริงและได้ผลจริงๆ

    ตอบลบ
  2. ชัดเจนค่ะ อนุโมทนาบุญด้วย สาธุ

    ตอบลบ
  3. (มค. นิกาย) น. หมู่, พวก, หมวด เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย เรียกนักบวชคณะต่างๆ, นักบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อแตกก...
    นิกาย คืออะไร แปลภาษา แปลว่า หมายถึง (พจนานุกรมภาษาไทย-อังกฤษ ...
    dictionary.sanook.com/search/dict-th-en-lexitron/นิกาย

    ตอบลบ
  4. ชัดเจน(แจ่มแจ้ง)ขออนุโมทนาสาธุๆๆค่ะ

    ตอบลบ
  5. ชัดเจน(แจ่มแจ้ง)ขออนุโมทนาสาธุๆๆค่ะ

    ตอบลบ
  6. สวดธรรมจักรฯ บูชาธรรมกายเจดีย์------บรมกุศลหนุนนำต่อเนื่อง ล้างวิบากกรรม+มาร ทลายสูญสิ้น ----คนพาล+มลายล่ม+หนีหาย***

    ตอบลบ
  7. อย่าพยายามบิดเบือนให้ร้ายวัดเลยค่ะ เพราะความจริงย่อมเป็นความจริงวันยังค่ำ
    รอวันเวลาให้ได้เข้ามาพิสูจน์ด้วยตนเองสยบข่าวทุกข่าว

    ตอบลบ
  8. ขอยืนยันอีกเสียงค่ะ ว่าวัดพระธรรมกายเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เป็นวัดเถรวาท ที่มีคำสอนมิได้ผิดแผกไปจากที่มีปรากฏพระไตรปิฎก และการลงมือปฏิบัติจริงตามหลักคำสอนที่ทางวัดเทศน์สอนก็ได้รับผลตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่ได้เป็นลัทธิอื่นใดตามที่มีคนกล่าวหาค่ะ

    ตอบลบ
  9. เถรวาท- คือ ยึดตามคำของพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานสงฆ์ซึ่งร่วมกันเรียบเรียงคำสอนของพระศาสดาจัดเป็นหมวดหมู่ พระภิกษุรูปใดหรือหมู่ใดมีการบวชที่สืบต่อตามแบบบัญญัติในพระวินัย(ญัตติจตุตถกรรม) มีการศึกษา การปฏิบัติที่รับมาจากพระอรหันต์ในคราวสังคายนา พระหมู่นั้นก็จัดได้ว่าเป็นหมู่เถรวาทะ ผู้ใดที่มีการกระทำที่จะทำให้เกิดการแตกแยกในสงฆ์ดังกล่าว ย่อมได้ชื่อว่าหักรานพุทธจักร มีโทษหนักเสมออนันตริยกรรมทีเดียว

    ตอบลบ
  10. ประวัติศาสตร์...ช่วยจำเรื่องสำคัญ
    ประวัติศาสตร์...ช่วยกันบันทึกไว้
    ประวัติศาสตร์...ช่วยแม้กาลผ่านไป
    ประวัติศาสตร์...ช่วยให้เกิดปัญญา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยโลกได้เรียนรู้
    ประวัติศาสตร์...ช่วยผู้ชอบแสวงหา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยสร้างแรงศรัทธา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยพา(พระ)ชนะมาร...

    ตอบลบ
  11. ผู้มีปัญญา จะใช้ดวงปัญญาวิเคราะห์ได้ดีกว่า ผู้ไม่มีปัญญาครับ

    ตอบลบ
  12. วัดพระธรรมกายไม่เห็นแตกต่างจากวัดไหนเลย มีพระอุปัชฌาย์เป็นเถรวาท พระที่วัดทั้งวัดบวชจากเถรวาท ไม่เห็นมีอะไรแตกต่าง

    ตอบลบ
  13. ถ้าวัดไหน?สะอาด มีระเบียบ สอนให้คนทำทาน รักษาศีล นั่งสมาธิ สวดมนต์ ผมจะเข้าวัดนั้นเอย.

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.