ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย ไขประเด็น! การให้ทานไม่ควรหวังผลจริงหรือ ???

“ ทำบุญแล้วควรหวังผลหรือไม่ ” (เรื่องที่ 4) (1)

        ปัจจุบันมีชาวพุทธบางส่วนเข้าใจกันว่า การทำบุญต้องไม่หวังอะไรเลย ถ้าทำบุญแล้วหวังผลแสดงว่าโลภ หรือถูกมองว่ามีกิเลสหนาเรื่องนี้ยังเป็นความเข้าใจที่ผิดกันอยู่



        จริงๆแล้ว การให้ทานจะโดยหวังผลหรือไม่หวังผล ก็เป็นเรื่องดีทั้งนั้น ดีกว่าไม่ให้ทาน จะหวังผลหรือไม่หวังผล แต่ละคนสามารถเลือกปฏิบัติได้ตามจริตอัธยาศัยของตน เช่น

        คนส่วนใหญ่ซึ่งปรารถนาอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ให้ทานแล้วอธิษฐานหวังในผลเหล่านี้ ทำให้ได้ดังใจปรารถนาละโลกแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์

        ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการกลับมาเกิดอีก ปรารถนาเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ก็ให้ทานเพียงเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ทำให้จิตใจสบาย เหมาะแก่การเจริญสมถวิปัสสนาจนหมดกิเลสในที่สุด ท่านเหล่านี้จะให้ทานโดยไม่หวังผลเรื่องลาภ ยศ เพราะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากไม่ต้องการกลับมาเกิดอีกแล้ว

        เมื่อพระพุทธองค์ทรงสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์แต่ละชาติล้วนทำบุญแล้วอธิษฐานจิตว่า ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต

พระอรหันตสาวกองค์สาคัญก็เป็นเช่นเดียวกัน
นี้แสดงว่าการทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาเป็นเรื่องดี
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ประโยชน์ มี 3 ระดับ คือ

        1. ประโยชน์ชาตินี้ เช่น รวย สวย แข็งแรง อายุยืน มีชื่อเสียง เป็นที่รัก

        2. ประโยชน์ชาติหน้า คือ ตายแล้วได้ไปเกิดบนสุคติโลกสวรรค์ มีทิพยสมบัติมาก

        3. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ได้บรรลุธรรม

        ดังนั้น เมื่อทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาให้ผลดีเกิดขึ้นเราก็ต้องตั้งจิตให้เป็นมุ่งให้เกิดผลดี ทั้ง 3 ระดับเช่นอธิษฐานขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาวมีโภคทรัพย์สมบัติมากฉลาดคบแต่คนดีได้ทำความดีตลอดชีวิตตายแล้วได้บังเกิดบนสวรรค์ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นต้น

        ไม่ตั้งจิตปรารถนาในสิ่งไม่ดี เช่น ให้สาวเห็นสาวหลง อันเป็นเหตุให้ผิดศีลกาเม ให้ฉลาดสามารถโกงโดยไม่มีใครจับได้อย่างนี้ไม่ดี

ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล

        พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระราชาแห่งกรุงอุชเชนี ภพในอดีตเกิดเป็นคนรับใช้เขา ได้นำภัตตาหารวิ่งฝ่าเปลวแดดอันร้อนแรงไปถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งจิตปรารถนาว่า ด้วยบุญนี้ภพต่อไปขอให้ข้าพเจ้ามีอำนาจแผ่ไพศาลดุจแสงตะวัน และมีพาหนะฝีเท้าเร็วด้วยเถิด

(เรื่องที่ 4) (2)

        เพราะทำบุญถูกเนื้อนาบุญ และทำด้วยจิตเลื่อมใสมาก ตายแล้วจึงได้ไปเกิดบนสวรรค์ยาวนาน เมื่อลงมาเกิดในครั้งพุทธกาล ก็ได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงอุชเชนีตามคาอธิษฐาน

        การทำบุญแล้วหวังผลก็เปรียบเหมือนเด็กเรียนหนังสือ การเรียนอย่างมีเป้าหมายโดยหวังความรู้ ย่อมทำให้มีกำลังใจในการเรียนดีกว่าเรียนโดยไม่หวังผลอะไร

        การทำบุญอย่างมีเป้าหมายโดยหวังผลที่ดีในอนาคตย่อมทำให้มีกาลังใจในการทำความดี

        พระโพธิสัตว์สามารถสละได้ทั้งทรัพย์สินเงินทอง เลือดเนื้อชีวิตอุทิศแก่มหาชนนับชาติไม่ถ้วนก็เพราะตั้งจิตปรารถนาเป็น พระพุทธเจ้า ผู้ที่หวังผลใหญ่ก็ทำให้กล้าที่จะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แบบทุ่มชีวิต

        เหตุที่บางคนคิดว่าการทำบุญแล้วหวังผลเป็นความโลภ เพราะไม่เข้าใจความแตกต่างของ “ความโลภ” กับ “กุศลธรรมฉันทะ” ความโลภคือความอยากได้ในทางทุจริต เช่น อยากไปปล้นเขา ยักยอก คดโกงทรัพย์ของคนอื่นมาเป็นของตัว เป็นสิ่งไม่ดี เป็นกิเลส ควรละ

        กุศลธรรมฉันทะ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ฉันทะ คือ ความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งที่สุจริต ดีงามเช่นอยากช่วยคนที่ลำบากยากจน อยากรักษาศีล อยากสวดมนต์นั่งสมาธิ อยากไปเกิดบนสุคติโลกสวรรค์ อยากบรรลุธรรม เป็นต้น

        ฉันทะเป็นสิ่งที่ดีพระพุทธเจ้าตรัส อิทธิบาท4 ธรรมะที่ทำให้งานสำเร็จ ก็เริ่มด้วยฉันทะเพราะเมื่อเราเห็นประโยชน์จากการทำสิ่งนั้น ย่อมเกิดความพอใจ เต็มใจที่จะทำ ทำให้เกิดวิริยะความเพียรในการทำกิจต่างๆ

        ฉันทะจึงเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เช่น เห็นประโยชน์ว่าเรียนหนังสือแล้วจะได้ความรู้ไปประกอบอาชีพได้ ทำให้ขยันเรียน เห็นคุณและโทษว่า ถ้าทำบาปจะตกนรกถ้าไม่ทำบาปแต่ทำบุญก็จะไปเกิดบนสวรรค์ จึงตั้งใจละความชั่วทำแต่ความดี

        “เราชาวพุทธทุกคน จึงควรตั้งใจทำความดีทุกรูปแบบ แล้วอธิษฐานจิต ให้อานิสงส์ผลบุญนั้นนาสิ่งดีๆมาสู่ชีวิตของเราทั้งภพนี้ ภพหน้า” เมื่อผลบุญส่ง เรามีทรัพย์มียศ มีตำแหน่ง มีสุขภาพรูปร่างหน้าตาดี ก็ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นอุปกรณ์หนุนส่งให้เราทำความดีได้มากยิ่งๆขึ้นไปอีกเหมือนเอาบุญต่อบุญ ทำให้ชีวิตเรามีแต่ความสุขความเจริญทุกภพทุกชาติไม่มีเสื่อมเลยและเมื่อให้ทานแล้วก็ควรรักษาศีลและเจริญภาวนาด้วย เพื่อให้เราสามารถบรรลุธรรมในที่สุด

(เรื่องที่ 4) (3)

        เราเห็นใครทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาในสิ่งที่ดี อย่าเผลอไปตำหนิว่าเขา ให้เป็นวิบากกรรมติดตัว ต่อไปเราจะถูกคนเข้าใจผิด ถูกด่าว่านินทา ควรอนุโมทนาบุญกับเขา เราจะได้บุญไปด้วย

หมายเหตุ

        รายละเอียดดูในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรคที่ 5 ทานสูตรที่ 9 (เนื้อหาในพระไตรปิฎกฉบับมจร. กับของมหามกุฏ แปลแตกต่างกันบ้าง ควรดูประกอบกัน)

        และในอัฏฐกนิบาต ทานวรรคที่ 4 สูตรที่ 5 ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน กล่าวว่า ผู้ให้ทานและมีศีลสามารถไปเกิดบนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น หากปราศจากราคะด้วย จะได้ไปเกิดบนชั้นพรหม

http://www.dhammakaya.net/
https://www.dmc.tv
ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย ไขประเด็น! การให้ทานไม่ควรหวังผลจริงหรือ ??? ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย ไขประเด็น! การให้ทานไม่ควรหวังผลจริงหรือ ??? Reviewed by Unknown on 02:50 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.