ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย จริงหรือไม่!!! ยิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ???

 คำถาม : จริงหรือไม่!!! ที่...วัดพระธรรมกาย ชอบสอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ?  





 คำตอบ : ก่อนจะอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ อยากให้ทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “บริจาคมาก” เสียก่อน 

คำว่ามากในที่นี้!!! ทางวัดไม่ได้มุ่งเน้นไปที่มูลค่าหรือตัวเงินที่แต่ละคนนำมาบริจาค   

อีกทั้งทางวัดไม่เคยตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวนเงินว่า...
ทำบุญหลักสิบ หลักร้อย คือน้อย...ทำบุญหลักพัน หลักหมื่น คือมาก!!!   
หรือทำบุญหลักพัน หลักหมื่น คือน้อย...ทำบุญหลักแสน หลักล้าน คือมาก!!!   

     เพราะคำว่ามากของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน ! ยกตัวอย่างเช่น...เงินจำนวน 100 บาท สำหรับใครบางคน (โดยเฉพาะคนที่มีเงินน้อย) อาจดูมีค่ามาก แต่สำหรับใครอีกหลายๆ คน (โดยเฉพาะคนที่มีเงินมาก) เงินจำนวนนี้อาจดูมีค่าไม่มากสักเท่าไหร่ 

     ดังนั้น...แนวทางที่วัดพระธรรมกายสอนเรื่องการทำบุญหรือบริจาคทานให้กับสาธุชนที่มาทำบุญที่วัด 
จึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่จำนวนเงินบริจาคว่า...จะต้องทำจำนวนมากๆ 
แต่สิ่งที่ทางวัดเน้นมากๆ นั่นก็คือ...ให้ทำบุญอย่างถูกหลักวิชชาตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ 
  
มาถึงจุดนี้!!! หลายท่านคงอยากจะรู้ว่า...ทำบุญอย่างไร!!! ถึงเรียกว่าถูกหลักวิชชาและได้บุญมาก” คำตอบก็คือ...ต้องทำบุญให้ถึงพร้อมด้วยองค์แห่ง “ทานสมบัติ” ทั้ง 3 ประการได้แก่   

    1.ไทยธรรมสมบัติ (หรือวัตถุบริสุทธิ์)   กล่าวคือ...วัตถุทานที่นำมาถวายต้องเป็นของบริสุทธิ์ ได้มาอย่างสุจริต ไม่ได้เกิดมาจากการทำผิดศีล  (เช่น...ไปลักขโมย หรือคดโกงคนอื่นมา  เป็นต้น)   อีกทั้งวัตถุทานที่นำมาถวายจะต้องไม่น้อมนำให้เกิดอกุศลใดๆ ต่อผู้รับ  (เช่น...เอาเหล้าไปมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่นในวาระพิเศษต่างๆ  เป็นต้น.)  

     2. จิตตสมบัติ (หรือเจตนาบริสุทธิ์) กล่าวคือ...ผู้ให้มีเจตนาให้ทานด้วยจิตที่บริสุทธิ์เป็นบุญกุศล เชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรม อีกทั้งยังมุ่งให้เกิดความดีงามและความใสสะอาดของจิต ไม่ได้ทำด้วยจิตที่เจือกิเลส (เช่น...ทำเพื่ออวดรวย หรืออยากเด่นอยากดัง เป็นต้น)    

   ซึ่งเจตนาจะบริสุทธิ์อย่างเต็มที่และได้อานิสงส์ผลบุญมาก ผู้ให้จะต้องรักษาใจให้มีความบริสุทธิ์ครบทั้ง 3 กาลดังนี้คือ...   

- ก่อนให้ทาน...ต้องรู้สึกปลาบปลื้มยินดีที่จะได้ถวายทาน   

- ขณะให้ทาน...ต้องทำจิตให้ผ่องใส  รู้สึกยินดีที่ได้ถวายทานนั้น   


- หลังจากให้ทานแล้ว...ต้องตามตรึกระลึกนึกถึงบุญที่เราได้ทำไปด้วยความปลื้มปีติใจ     


     3. เขตสมบัติ (หรือบุคคลบริสุทธิ์) กล่าวคือ... “ปฏิคาหก” (หรือผู้รับทาน) จะต้องเป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ   เป็นผู้มีศีลประกอบด้วยคุณธรรมและมีศีลาจารวัตรอันงดงาม   ส่วน “ทายก” (หรือผู้ให้ทาน) จะต้องเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลด้วยเช่นเดียวกัน   และด้วยเหตุนี้เอง...จึงมีประเพณีให้สมาทานศีล 5 หรือศีล 8 ก่อนที่จะมีการถวายทาน   

     จากหลักวิชชาในเรื่อง “ทานสมบัติ 3” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้   วัดพระธรรมกายก็สอนให้สาธุชนที่มาแสวงบุญที่วัดทำบุญตามหลักวิชชาดังกล่าวมาโดยตลอด   ไม่เคยมีแม้สักครั้งเดียวที่ทางวัดจะสอนเรื่องการทำทานให้ผิดแผกแตกต่างไปจากคำสอนดั้งเดิมดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น    

     ส่วนว่าแต่ละคนทำบุญแล้วจะได้บุญมากหรือน้อย ในส่วนนี้มันขึ้นอยู่กับตัวแปรตามหลัก “ทานสมบัติ 3” ว่า...ใครสามารถทำตามหลักวิชชาได้สมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน!!! ถ้าทำครบสมบูรณ์ตามหลัก “ทานสมบัติ 3” ทุกประการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาเจตนาบริสุทธิ์ให้ครบทั้ง 3 กาล) ไม่ว่าจะบริจาคทานน้อยหรือมาก...อานิสงส์ผลบุญที่ได้รับก็จะมีกำลังมากด้วยกันทั้งคู่ 

    ดังนั้น...ในกรณีที่ทำบุญครบองค์แห่งทานสมบัติ 3 สมบูรณ์เท่าๆ กัน ผลบุญของคนที่บริจาคทานมากกว่า!!! ยังไงก็ย่อมมีกำลังบุญมากกว่าคนที่บริจาคทานน้อยกว่า ถ้าจะอุปมาให้เห็นภาพ ...  

การสั่งสมบุญ เปรียบเสมือน "การหว่านพืช " ! 

ถ้าองค์ประกอบในการเพาะปลูกมีครบ และสมบูรณ์ดีทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมีเมล็ดพันธุ์ดี (เปรียบได้กับมีไทยธรรมสมบัติถึงพร้อม)   รวมถึง...มีปุ๋ยดี  มีดินดี  มีน้ำดีและมีอากาศเหมาะสม (เปรียบได้กับเขตสมบัติครบองค์ประกอบทั้งผู้ให้และผู้รับ)     

     อีกทั้ง...ยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความขยันหมั่นเพียร และคอยตามดูแลให้ผลผลิตเจริญงอกงาม (เปรียบได้กับเจตนาสมบัติที่เราสามารถรักษาความบริสุทธิ์ของใจครบทั้ง 3 กาล) คนที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า!!! (เปรียบได้กับคนที่ทำบุญมาก) ยังไงก็ย่อมได้ผลผลิต (ซึ่งก็คือผลบุญ) มากกว่าคนที่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย ฉันใดก็ฉันนั้น!!!  

    คนที่ทำบุญมากและทำถูกหลักวิชชาครบตามหลักทานสมบัติ 3   ย่อมได้ผลบุญมากกว่าคนที่ทำถูกหลักวิชชาเหมือนกันแต่ทำบุญน้อยกว่า   
      แต่ถ้าในกรณีที่ทำบุญแล้วองค์ประกอบของ “ทานสมบัติ 3” ไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์   บางทีคนที่บริจาคทานน้อยกว่าแต่ทำบุญถูกต้องตามหลักวิชชามากกว่า!!! ก็อาจจะได้ผลบุญมากกว่าคนที่บริจาคทานมากแต่ไม่ได้ทำตามหลักวิชชาก็เป็นได้   

      ดังตัวอย่างจากพระไตรปิฎกเรื่อง “มหาทุคตะ” ชายผู้ที่ได้ชื่อว่าจนโคตรๆ 


      ซึ่งต่อมาได้กลับกลายมาเป็นคนที่ร่ำรวยมหาศาล เพราะเหตุที่มหาทุคตะผู้นี้!!! มีความตั้งใจอยากที่จะสั่งสมบุญด้วยการรับเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุจำนวน 1 รูป เพื่อที่บุญดังกล่าวจะได้ไปรื้อผังจนกำจัดความตระหนี่ของตัวเอง 

     ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ในภพชาตินี้ตัวเขาต้องมาเกิดเป็นคนยากจนที่สุดในเมือง (เจตนาบริสุทธิ์)   

     เมื่อเขามีความตั้งใจดีเช่นนี้เขาจึงออกไปทำงานรับจ้างที่บ้านเศรษฐี   เพื่อหาภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง (วัตถุทานบริสุทธิ์)    

     สุดท้ายพระภิกษุผู้รับทานของเขาก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ที่สุดของบุคคลบริสุทธิ์) และด้วยผลบุญจากการทำทานครบองค์ประกอบแห่ง “ทานสมบัติ 3” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้รับทานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้มีฝนรัตนชาติที่เป็นเพชรพลอยตกลงมาที่บ้านของเขาสูงท่วมถึงหัวเข่า เรียกได้ว่า...รวยทันตาเห็นภายในวันนั้นเลยทีเดียว!!!   

     เมื่อเขาละโลกไปแล้ว... ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง 1 พุทธันดร  และในภพชาติสุดท้าย...เมื่อเขาลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง   ผลแห่งบุญก็ได้ส่งผลทำให้เขาได้ไปเกิดอยู่ในตระกูลเศรษฐี  พออายุ 7 ขวบ...บุญในตัวของเขาก็ได้กระตุ้นเตือนให้อยากออกบวช  ครั้นบวชได้ไม่กี่วัน...เขาก็ได้บรรลุธรรมเป็นสามเณรอรหันต์

    (ที่มาของเรื่องมหาทุคตะ : พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 41 หน้า 318 ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท  บัณฑิตวรรควรรณนา)

     นี่เป็นตัวอย่างของการ “บริจาคน้อย!!! แต่ทำถูกหลักวิชชาจนได้ผลบุญมาก” ที่ชัดเจน ซึ่งวัดพระธรรมกายก็ได้นำเรื่องราวที่เกี่ยวกับอานิสงส์จากการสร้างทานบารมีอย่างถูกหลักวิชชาของคนทุกระดับชั้น   ที่มีบันทึกในพระไตรปิฎกในลักษณะแบบนี้มาสอนสาธุชนอยู่เสมอๆ   วัดพระธรรมกายไม่ได้มุ่งเน้นไปที่จำนวนเงินหรือมูลค่าของสิ่งของ   หรือสอนให้ทุกคนต้องบริจาคเงินมากๆ เพื่อให้ได้บุญมากๆ แบบขาดสติ   หรือสอนให้ทำบุญแบบเจือกิเลสแบบโลกๆ อย่างที่กลุ่มคนที่ไม่รู้จริงแต่ชอบอวดรู้กล่าวหา   


     เพราะตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ   วัดพระธรรมกายมีแต่สอนให้สาธุชนทุกคนทั้งเก่าและใหม่ ทำบุญให้ครบองค์ประกอบตามหลัก “ทานสมบัติ 3” (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาเจตนาบริสุทธิ์ให้ครบทั้ง 3 กาล)   ซึ่งถือเป็นหลักวิชชาสำคัญในการสร้างทานบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   เพื่อจะได้เป็นเสบียงบุญติดตามตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติจนกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน 

      ส่วนว่า...สาธุชนที่เข้ามาแสวงบุญที่วัดเขาจะบริจาคเงินจำนวนเท่าไหร่   ใครจะทำมาก   ใครจะทำน้อย   ใครจะทำเต็มที่เต็มกำลังหรือใครจะทำแบบพอเพียง   ใครจะปิดบัญชีทางโลกเพื่อเปิดบัญชีทางธรรมหรือใครจะทำตามที่สบายใจ   เรื่องแบบนี้!!! มันขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความพอใจของสาธุชนแต่ละคนเป็นหลัก   ทางวัดไม่สามารถไปบังคับหรือกะเกณฑ์ความศรัทธาในการบริจาคทานของใครได้    

     ดังนั้น...ประโยคที่กลุ่มคนซึ่งมีอคติกับวัดพระธรรมกายชอบนำมาตีประเด็นที่ว่า... “วัดพระธรรมกายชอบสอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก” จึงเป็นเพียงประโยคที่ถูกตัดตอนหรือพูดไม่ครบความ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ...เป็นการหยิบยกเอาแต่ “ผลสรุปแค่บางส่วน” 

     ซึ่งแม้จะเป็นอย่างนั้นจริงๆ ตามหลักวิชชาที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่พอกลุ่มคนที่มีอคติกับวัดพระธรรมกายเจตนาหยิบยกเฉพาะประโยคนี้มาบิดประเด็น โดยไม่ได้กล่าวถึง “เหตุที่มา” นั่นก็คือหลักคำสอนของทางวัดที่สอนให้สาธุชนทำบุญตามหลัก “ทานสมบัติ 3” ขึ้นมาพูด 

     เมื่อคนที่ไม่เคยมาวัดได้ฟังกลุ่มคนที่มีอคติปลุกปั่น สร้างกระแสด้วยรูปประโยคที่ถูกตัดตอนแบบนี้มากเข้าๆ ก็ทำให้มีหลายๆ คนหลงเชื่อและเข้าใจผิดคิดว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนทำบุญแบบนั้นจริงๆ   

     เพราะฉะนั้น...ถ้าใครอยากจะรู้ความจริงว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนทำบุญอย่างที่เขากล่าวหาจริงๆ หรือไม่!!! ขอเชิญมาดูด้วยตา  มาฟังด้วยหู และมาสัมผัสด้วยตัวเป็นๆ ที่วัดพระธรรมกายจะดีที่สุด   


ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย จริงหรือไม่!!! ยิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ??? ถาม-ตอบ กรณีธรรมกาย จริงหรือไม่!!!  ยิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ??? Reviewed by Unknown on 00:19 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.